หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://goo.gl/hO2TGM

จังหวัดชลบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,726,875 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 51 ของประเทศ มีชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่งคดโค้งสวยงาม เกิดเป็นหน้าผาหิน หาดทราย ป่าชายเลน และป่าชายหาด รวมความยาวถึง 160 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดมีความหลากหลาย ตั้งแต่ที่ราบลูกคลื่นและเนินเขาทางด้านตะวันออก ที่ราบชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงไปจนถึงอำเภอสัตหีบ ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงที่อุดมสมบูรณ์ด้วยดินตะกอน เหมาะสำหรับการทำการเกษตร และพื้นที่สูงชันและภูเขาทางตอนกลางและด้านตะวันออกของจังหวัด ไปจนถึงเกาะน้อยใหญ่อีกมากมายถึงกว่า 46 เกาะ ที่ทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติ ช่วยป้องกันคลื่นลม ทำให้ชลบุรีไม่ค่อยมีคลื่นขนาดใหญ่ ชายฝั่งของชลบุรีจึงเต็มไปด้วยท่าจอดเรือประมง และเหมาะสำหรับการสร้างท่าจอดเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่



http://goo.gl/74G8r9


แหล่งที่มา http://thai.tourismthailand.org

อาหารพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี


ขนมจีน ขนมจีนของจังหวัดชลบุรี มีเส้นยาว ขาวสะอาด เหนียว มีผู้สั่งไปใช้ในงานมงคลต่างๆ โดยเฉพาะในงานแต่งงาน เนื่องจากคนไทยมีความเชื่อกันว่า การใช้ขนมจีนเส้นยาวเหนียวใส่ไปใสพานขันหมาก จะทำให้ชีวิตของคู่แต่งงานอยู่ด้วยกันยืนยาว เหนียวแน่น ชนมจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดชลบุรี คือ ขนมจีนที่ทำจากตลาดอำเภอบ้านบึง



ข้าวหลาม เป็นอาหารหวานของชาวจังหวัดชลบุรี มีลักษณะพิเศษ คือ หวาน มัน ทำจากข้าวเหนียว น้ำกะทิ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเผาให้สุก ข้าวหลามที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี คือ ข้าวหลามหนองมน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ชลบุรี ขนมหน้าถั่ว ก้นถั่วและ ขนมหน้าหมู เป็นขนมรับประทานเป็นอาหารว่าง แต่บางครั้งใช้ในงาน บุญ ต่างๆ นับเป็นอาหารพื้นบ้านของจังหวัดชลบุรี ทำจากแป้ง ข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลมะพร้าว ผสมให้ เข้ากันใส่ถ้วยตะไลนำไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที ขนมมีรส ชาติหวานมัน เรียกชื่อขนมตามลักษณะที่ทำ คือ ขนมหน้าถั่ว มีถั่วทอง (ถั่วเขียวผ่าซีก) ปิดหน้าถ้วย ตัวขนม ใช้น้ำตาลทรายแทนน้ำตาลมะพร้าว



แจงลอน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวชลบุรี จัดอยู่ใน ประเภทอาหารคาว มีเครื่องปรุงเช่นเดียวกับห่อหมก ต่างกันแต่ว่า ห่อหมกใส่กะทิและมีผักต่างๆ เช่น ใบยอ ผักกาด ใบโหระพา แต่แจงลอนจะใส่มะพร้าวขูดที่ไม่ต้อง คั้นกะทิออก และไม่ใส่ผักเหมือนห่อหมก จะมีแต่น้ำพริก ผสมกับเนื้อปลาและมะพร้าวขูด นำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เสียบไม้ย่าง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน เมี่ยงก๋วยเตี๋ยว ประกอบด้วยแผ่นก๋วยเตี๋ยวตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ประมาณเท่าฝ่ามือ แล้วนำมาห่อใส่เครื่องปรุง ซึ่งประกอบ ด้วยกุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่ว ไข่เจียวหั่นฝอย ถั่วงอกและ ใบกุยช่ายลวก แล้วหยอดน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาล มะนาว พริกขี้หนู ผักชี ปรุงรสให้ออกเปรี้ยว หวาน เค็ม แล้วแต่ชอบ ปัจจุบันมีการดัดแปลงเพิ่มเติม ส่วนประกอบ คือ เพิ่มหมูต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หัวไชโป๊ว เต้าหู้แข็งหั่นเป็นลูกเต๋า



ขนมต้มขาว ต้มแดง เป็นขนมไทยโบราณที่มีส่วนผสมระหว่างแป้งข้าวเหนียว มะพร้าว และน้ำตาลปีบ มีขั้นตอนการปรุงไม่ซับซ้อน มักนิยมจัดเป็นขนมสำรับเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วม กับการทำบายศรี เช่น การแก้บน การขึ้นศาลพระภูมิ



ปลาคก เป็นอาหารประจำของชาวจังหวัดชลบุรี ทำจากปลาตะเพียนต้มกับผักกาดดอง ตะไคร้ กระเทียม พริกแห้งและเกลือ ใส่ปลาไว้บนสุด เคี่ยวบนไฟอ่อนๆ รวมกันกับน้ำเป็ดพะโล้ สำหรับรับประทานกับข้าวต้มหรือข้าวสวย แหล่งผลิตปลาคกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี อยู่ที่ตำบลบางปลาสร้อย

แหล่งที่มา https://chonburi12.wordpress.com

ศิลปะ/วัฒนธรรม/ประเพณี




1.งานพัทยามาราธอน


จัดขึ้นที่บริเวณเมืองพัทยา ประมาณเดือนกรกฎาคม เพื่อเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวนอกฤดูท่องเที่ยว มีนักวิ่งจากหลายประเทศมาร่วมงาน โดย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน 


2.งานเทศกาลวันไหล


ภาคตะวันออกนั้นจะแตกต่างจากที่อื่นคือ จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันประมาณวันที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน โดยเรียกกันว่า "วันไหล" สำหรับเมืองพัทยา ได้กำหนดจัดงานวันไหลในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ


3.งานประเพณีวิ่งควาย


เป็นประเพณีเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี จัดขึ้นเดือนตุลาคมของทุกปี นอกจากที่จัดที่อำเภอชลบุรีแล้วยังมีการจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในอำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ ในวันงานชาวไร่ ชาวนาจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรสีต่างๆ และนำควายมาชุมนุมกันที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดสุขภาพควาย ประกวดการตกแต่งควาย


4.งานประจำปีจังหวัดชลบุรี


เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 กิจกรรมของงานได้รวมงาน "นมัสการพระพุทธสิหิงค์ งานสงกรานต์ และงาน กาชาด" ไว้ด้วยกันโดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันจัดงาน ประกอบไปด้วยขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม นิทรรศการ และ การออกร้าน เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น


5.งานบุญกลางบ้าน และเครื่องจักสานพนัสนิคม


เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม ซึ่งจะจัดขึ้นในราวเดือน 3-6 โดยผู้เฒ่าหรือชาวบ้านที่เป็นที่นับถือจะเป็นผู้กำหนดวันทำบุญ และทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้าน หลังพิธีสงฆ์จะมีการรับประทานอาหารร่วมกันและมีการละเล่นพื้นบ้าน

แหล่งที่มา http://www.baanjomyut.com/76province/east/chonburi/costom.html

สถานทีท่องเที่ยว




   ชลบุรี...เมืองแห่งการท่องเที่ยวระดับโลกที่หลากหลายเกินใจคิด เพราะมีทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัด วัง หรือจะไปดื่มด่ำกับความงามของธรรมชาติ ผืนไพร และสัตว์ป่าก็มีพร้อม แถมใครชื่นชอบกิจกรรมสนุก ๆ ที่นี่ก็มีพร้อม หรือจะปล่อยใจไปกับโชว์สุดอลังการระดับโลก เดินช้อปปิ้งสุดสนุก มีเพียงชลบุรีเท่านั้นที่จะพาคุณไปพบประสบการณ์ทั้งหมดนั้นได้ โดยวันนี้เราได้รวบรวมเอาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเมืองชลบุรีมาแนะนำกันครับ 




1.หาดบางแสน

   หาดบางแสน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยมาช้านาน มีถนนตัดเลียบหาดเคียงคู่ไปกับทิวมะพร้าว ถัดเข้าไปมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และที่พักเรียงรายอยู่จำนวนมาก นักท่องเที่ยวนิยมไปนั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์ทะเลกันบนเก้าอี้ผ้าใบบนชายหาด พร้อมมีบริการห่วงยางให้เช่าว่ายน้ำ มีเรือบานาน่าโบ๊ท จักรยานให้เช่า และห้องอาบน้ำจืด ทุกวันหยุดหาดบางแสนจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นชายหาดขนาดใหญ่ที่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุด จึงสามารถเดินทางแบบไปเช้า-เย็นกลับได้


2.พัทยา

     หาดพัทยา เป็นหาดทรายที่มีความยาวต่อเนื่องประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ โดยแบ่งเป็นพัทยาเหนือ พัทยากลาง และพัทยาใต้ โดยที่หาดพัทยาใต้นั้นถือเป็นศูนย์รวมความเจริญและแสงสี ยามค่ำคืนมีการปิดถนนเป็น Walking Street ให้นักท่องเที่ยวเดินช้อปปิ้งได้โดยสะดวก ส่วนบริเวณชายหาดก็ร่มรื่น แถว ๆ หาดพัทยาเหนือเป็นบริเวณที่สงบกว่าส่วนอื่น นักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัวนิยมไปเล่นน้ำพักผ่อน หรือเล่นกีฬาทางน้ำต่าง ๆ ส่วนชายหาดพัทยากลางไปถึงพัทยาใต้จะคึกคักคับคั่งกว่า เพราะเป็นย่านธุรกิจ ร้านค้า โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของที่ระลึก และแหล่งบันเทิงครบวงจร


3.หาดนางรำ

    อยู่ใกล้กับท่าเรือจุกเสม็ดหรือท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นหาดยาวประมาณ 200 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณมีร้านอาหารและที่พักของสโมรสรทหารเรือ สุดปลายหาด คือ แหลมปู่เจ้าประดิษฐานศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์0-3843-1261   


4.เกาะล้าน

     เกาะล้าน เป็นเกาะที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมานานหลายสิบปีแล้ว เนื่องจากอยู่ใกล้กับพัทยา จึงเดินทางถึงกันได้โดยสะดวก ตัวเกาะล้านมีความยาว 5 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ เช่น เจ็ตสกี บานาน่าโบ๊ท โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้านและเกาะเล็ก ๆ โดยรอบ อย่างเกาะครก-เกาะสาก เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำตื้นและน้ำลึก รวมทั้งยังเป็นสถานที่ฝึกเรียนดำน้ำ และแหล่งตกปลาที่สำคัญ


5.สวนนุงนุช

   สวนนงนุช พัทยท (์Nong Nooch Garden & Resort Pattaya) คือ สวนไม้ดอกและไม้ประดับขนาดใหญ่มีพื้นทีทั้งหมดราว 1500 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที 163 ระหว่างพัทยา-สัตหีบ จังหวัดชลบุรีปัจจุบันภายในพื้นทีอันกว้างใหญ่ไพศาลของ สวนนงนุช พัทยาประกอบไปด้วยสวนประเภทต่างๆ รวมกันอยู่มากเกินกว่า 15 รูปแบบ อาทิ สวนตุ๊กตากระถาง สวนเนินลายปีกผีเสื้อ สวนพุทธรักษา สวนฝรั่งเศษ สวนบอนไซ สวนกล้วยไม้ สวนสับปะรสสี เป็นต้นนอกจากนี้ สวนนงนุช พัทยา ก็ยังมีพื้นทีซึ้งจัดแบ่งไว้เป็นภัตตาคาร-ร้านอาหาร สวนสัตว์ขนาดเล็ก โรงแสนช้างแสนรู้ และโรงละครที่ใช้ศิลปวัฒนธรรมไทยด้วย

แหล่งที่มา http://travel.kapook.com/view9795.html


วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

สัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดชลบุรี
     ตราจังหวัดชลบุรีเป็นรูปภูเขาอยู่ริมทะเล  แสดงถึงสัญลักษณ์สำคัญ 2 ประการของจังหวัด  คือ “ทะเล”  หมายถึงความเป็นเมืองชายทะเลที่อุดมสมบูรณ์  และ “รูปภูเขาอยู่ริมทะเล” หมายถึงเขาสามมุข อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่เคารพของชาวชลบุรี  ตลอดจนประชาชนทั่วไป  ซึ่งต่างมีความเชื่อตรงกันว่า ศาลเจ้าแม่สามมุขสามารถดลบันดาลให้ความคุ้มครองผู้ที่มาเคารพกราบไหว้ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆได้  โดยเฉพาะการออกไปประกอบอาชีพจับปลาในท้องทะเลเขาสามมุขจึงกลายเป็นปูชนียสถาน และสัญลักษณ์สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของชาวชลบุรีมาโดยตลอด

คำขวัญประจำจังหวัด 
“ทะเลงาม  ข้าวหลามอร่อย   อ้อยหวาน  จักสานดี  ประเพณีวิ่งควาย”

ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด 
   ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี  คือ  ประดู่ป่า  ชื่อวิทยาศาสตร์  Pterocarpus  macrocarpus  Kurz  พรรณไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว  (Papilionoideae)  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  สูง 15-25 เมตร  เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด  แผ่นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ  มีดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน  โดยลักษณะดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ  กลีบดอกสีเหลืองอ่อน  และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ  สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์  เช่น  เนื้อไม้ใช้ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน  แก่นให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า  เปลือกให้น้ำฝาดชนิดหนึ่งใช้ย้อมผ้าได้ดี  ใบผสมกับน้ำใช้สระผม  และประโยชน์ในทางสมุนไพร  คือ  แก่นมีรสขมฝาดร้อน  ใช้บำรุงโลหิต  แก้กระษัย  แก้คุดทะราด  แก้ผื่นคัน  และขับปัสสาวะพิการ

* เที่ยวชลบุรีสะดวกดีทางใกล้   คลื่นลมหาดทราย   แสนรื่นรมย์   สัตหีบ  ศรีราชา  
พัทยา   อ่าวอุดม   ผาแดง   พนัสนิคม   บางแสนเอย ... * 
    
  ของดีเมืองชลทั่วทุกคนรู้ค่า  น้ำมัน  น้ำปลา  น้ำอ้อยดี 
  อีกก๊าซธรรมชาติ  โชติชัชจากนที  ชื่อเสียงชลบุรีนี่เหนือใคร 
  ทะเลสวยดี  อ่าวเวิ้งมีหลายอ่าว  แวะเยือนทุกคราวแสนเพลิดเพลิน 
  เล่นน้ำกันสนุก  สิ้นทุกข์  สุขเหลือเกิน  ทรายขาว  ชายเนิน  โขดเขินไกล 

(ซ้ำ *..............................*)
    
   สาวงามเมืองชล  แต่ละคนวิไล  ละมุนละไม  สวยต้องตา  อ่อนหวานปานน้ำอ้อย 
   เรียบร้อยจริยา  งามพร้อมเพลินตาและน้ำใจ 
   แม้กายแรงใจ  ฝากหัวใจไว้นี่  ชาวชลบุรีคงเมตตา 
   ถิ่นนี้มีเสน่ห์  ห่างเหต้องหวนมา  ซาบซึ้งอุรากว่าทุกเมือง 

(ซ้ำ *..............................*)

แหล่งที่มา http://www.chonburi.go.th

ประวัติศาสตร์ชลบุรี

    จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ, เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
    ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด, เครื่องประดับจำพวกกำไล, ลูกปัดเครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแสนยาวนานของจังหวัดชลบุรี
   ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
   ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย, เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
   ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชลบุรีจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ดังมีบันทึกว่า
“รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1, เมืองนครนายก 1, เมืองพนมสารคาม 1 และเมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม, เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม ”
   ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองบางปลาสร้อย, เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชลบุรี โดยใช้บริเวณเมืองบางปลาสร้อยเดิมจัดตั้งเป็นอำเภอบางปลาสร้อย ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองชลบุรี ในปี พ.ศ. 2481
มืองพนัสนิคมยุบเป็นอำเภอพนัสนิคมก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอบ้านบึง, อำเภอหนองใหญ่, อำเภอพานทอง, อำเภอบ่อทอง และอำเภอเกาะจันทร์ เมืองบางละมุงยุบเป็นอำเภอบางละมุง ก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอศรีราชา, อำเภอสัตหีบ และเปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างในปัจจุบัน

แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org